วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


กิจกรรมที่ 2
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
- จากการที่ได้อ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทุกๆประเด็นมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็นที่ส่งผลประโยชน์ให้ประเทศชาติ บ้านเมือง และประชาชนได้อยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจมากที่สุดมีดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา ๓ อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจทั้ง ทางด้านรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
1. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่เพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้กว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้การใช้สิทธิและเสรีภาพง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพ และมีมาตรการคุ้มครองอย่างชัดเจน รวมทั้งทำให้แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีความชัดเจนและผูกพันรัฐมากกว่าเดิม และปรับปรุงการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
2. การลดการผูกขาดอำนาจรัฐ และการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม แต่เดิมนั้น รัฐหรือฝ่ายบริหารมีอำนาจมากเกินไป การตรวจสอบฝ่ายบริหารเป็นไปได้ยาก และมีการเข้าไปแทรกแซงการทำงานของระบบข้าราชการประจำ เช่น การแต่งตั้งโยกย้าย เลื่อนตำแหน่ง ฯลฯ ดังนั้นร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงพยายามลดการแทรกแซงข้าราชการลง และให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลและคณะรัฐมนตรีเป็นไปได้ง่ายขึ้น
3. การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรมโดยการเพิ่มหมวด คุณธรรม จริยธรรมขึ้น ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งมีการกำหนดไว้ชัดเจนว่า หากมีการฝ่าฝืนบทบัญญัติในหมวดคุณธรรม จริยธรรม จะถือว่าเป็นความผิด ซึ่งหากเป็นข้าราชการก็จะเป็นความผิดทางวินัย หากเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในกรณีที่ร้ายแรงก็สามารถถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ การกำหนดมาตรการเพื่อไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง โดยกำหนดให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นของบริษัท ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งครอบคลุมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย
4. การทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็ง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบให้มีความเข้มแข็ง ไม่ถูกแทรกแซง และมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบมากยิ่งขึ้น อาทิ ปรับปรุงระบบการสรรหาองค์กรตรวจสอบเพื่อให้มีความอิสระ และเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ของแต่ละองค์กร การจัดให้มีระบบการตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการปรับปรุงอำนาจหน้าที่และระบบการทำงานขององค์กรตรวจสอบให้ดียิ่งขึ้น

2. สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
มาตรา 49  บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง จัดให้อย่าง ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา ๘๐  รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้
(๑) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้
(๒) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน ของประชาชน รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่าง ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพและการจัดบริการ สาธารณสุข โดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพ และจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
(๓) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับ ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยน แปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่า เทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
(๕) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยในศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ และเผยแพร่ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากรัฐ
(๖) ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึก และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
- รัฐสภา เช่น รัฐสภาประกอบด้วยอะไรบ้าง
- สภาผู้แทนราษฎร เช่น สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่คน ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติอย่างไร บุคคลใดบ้างที่ห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นอย่างไร เป็นต้น
- สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา เช่น บุคคลย่อมมีสิทธิในการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปีตามที่รัฐจัดให้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
- วุฒิสภา เช่น วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่คน คุณสมบัติใดบ้างที่สามรถมีสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งหรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
- สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิ์การจากรัฐ เช่น บุคคลที่มีอายุเกินกี่ปีที่ไม่มีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพ ที่มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
-การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่น กำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของ บุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
-ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้อง ได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัด เทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน
-การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
-สาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
-รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
-การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
-การส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมืองการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ
4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
- เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศ  ดังนั้นเราต้องมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเพราะรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือสนับสนุนระบอบการปกครอง ไม่ว่าจะปกครองด้วยระบบใดก็ตาม เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงโครงสร้างการปกครองประเทศหลักประกันเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ  และช่วยทำให้การดำรงชีวิตของประชากรหรือประชาชนมีกฎระเบียบและขอบเขตที่ใช้ในการปฏิบัติตนในสังคม ดังนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
   - การที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ต้องดูเหตุผลก่อนว่าสมควรหรือไม่ หรือสมควรปรับปรุงอันเนื่องมาจากความประสงค์ของนักการเมืองที่จะแก้การกระทำความผิดที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้อง ซึ่งรับไม่ได้ในทางกฎหมาย หากยอมให้คนทำผิดแก้กฎหมายให้ตัวเองพ้นผิด ระบบกฎหมายของประเทศจะถูกพังทลายเป็นสาเหตุทำให้ประชาชนบางกลุ่มออกมาประท้วง ซึ่งสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ก็ต้องดูความเหมาะสมในสิ่งที่รัฐบาลดำเนินการแก้ไข ว่ามีประโยชน์แก่ทุกฝ่ายหรือไม่ เหมาะสมมากน้อยเพียงใด เพราะถ้าไม่สามารถมีประโยชน์แล้วก็อาจจะทำให้บางกลุ่มคัดค้านในการปรับปรุงรัฐธรรมนูญได้

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่า
- การปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่ที่ดีเพราะประเทศก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมือง และเพื่อที่ประเทศของเราจะมีความมั่นคงได้นั้นจะต้องมีมีความโปร่งใสต่อการทำงาน

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1


กิจกรรมที่ 1
ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหาให้มาก

ที่สุดแล้วเขียนลงในกิจกรรมที่ 1 ของนักศึกษาอย่างน้อยคนละ 

10 ชื่อ

1. สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือผลประโยชน์ของบุคคลที่มีกฏหมายให้ความคุ้มครอง โดยบุคคลอื่นจะต้องให้ความเคารพ จะละเมิดล่วงเกินหรือกระทำการใดๆ อันก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อสิทธิของบุคคลไม่ได้
สิทธิ (ออนไลน์) สืบค้นจากhttp://webboard.gg.in.th[10 พฤศจิกายน 2555].


2.  การศึกษาพิเศษ เป็นการศึกษาที่จัดให้แก่บุคคลที่มีลักษณะพิเศษ หรือมีความบกพร่องทางร่างกาย เช่น บกพร่องทางการเห็น การพูด การได้ยิน มีความบกพร่องทางสติปัญญา หรือมีความผิดปกติทางจิตใจ


การจัดการศึกษาลักษณะต่างๆ (ออนไลน์)  สืบค้นจาก http://guru.sanook.com/  [10 พฤศจิกายน 2555].


3.การศึกษาภาคบังคับ เป็นการศึกษาที่มีกฎหมายบังคับให้ทุกคนเรียนอยู่ในโรงเรียนจนกว่าจะพ้นเกณฑ์  ซึ่งกำหนดตามอายุ หรือระดับการศึกษาที่ได้แสดงไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติ


การจัดการศึกษาลักษณะต่างๆ (ออนไลน์)  สืบค้นจาก http://guru.sanook.com/search [10 พฤศจิกายน 2555].


4. หน้าที่ หมายถึงภาระหรือความรับผิดชอบที่บุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฏหมาย


5. พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ


พระราชบัญญัติ (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.2-teen.com/community/forum. [10 พฤศจิกายน 2555].


6. มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นใน สถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา


การจัดการความรู้ สำนักบรรณสารและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (2554). มาตรฐานการศึกษา (ออนไลน์)  สืบค้นจาก http://library.vu.ac.th/ [10 พฤศจิกายน 2555].


7. คุณภาพการศึกษา   หมายถึง คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตาม ปณิธานและภารกิจของการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามนโยบายการพัฒนาการอุดม ศึกษาของประเทศ ตลอดจนปณิธานและภารกิจเฉพาะในการจัดการศึกษาของแต่ละสถาบัน


การจัดการความรู้ สำนักบรรณสารและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (2554). คุณภาพการศึกษา (ออนไลน์)  สืบค้นจาก http://library.vu.ac.th [10 พฤศจิกายน 2555].


8. ระบบการศึกษา หมายถึง โครงสร้างของการศึกษาที่มีองค์ประกอบ เช่น ระดับชั้น และขั้นตอนของการศึกษา ประเภทของการศึกษา และกระบวนการเรียนการสอน


ระบบการศึกษา (ออนไลน์)  สืบค้นจาก http://www.moe.go.th  [10 พฤศจิกายน 2555].


9. การประกันคุณภาพการศึกษา (QUALITY ASSURANCE) หมายถึง การทำกิจกรรม หรือการปฏิบัติภารกิจหลักอย่างมีระบบตามแบบแผนที่กำหนดไว้ โดยมีการควบคุมคุณภาพ


การจัดการความรู้ สำนักบรรณสารและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (2554). นิยามและความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://library.vu.ac.th/[10 พฤศจิกายน 2555].


10. การรับรองมาตรฐาน หมายถึง การให้การรับรองการทำการประเมินคุณภาพภายนอกของผู้ประเมินภายนอกที่มี คุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ตามหลักเกณฑ์ และมาตรฐานที่สำนักงานกำหนด


การจัดการความรู้ สำนักบรรณสารและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (2554).  การรับรองมาตรฐานการศึกษา (ออนไลน์)  สืบค้นจาก http://library.vu.ac.th [10 พฤศจิกายน 2555].


















กิจกรรมการเรียนและแนะนำตนเอง



แนะนำตัวค่ะ
ชื่อ นางสาวปราณี สบู่มาท ชื่อเล่น ฮาซาน๊ะ
รหัสนักศึกษา 5211114089
คณะ ครุศาสตร์ โปรแกรม ภาษาอังกฤษ
ที่อยู่ 2/1 ม.12 ต.บ้านนิคม อ. บางขัน จ.นครศรีธรรมราช  80360
ประวัติการศึกษา


จบชั้นมัธยมศึกษาตอนตน โรงเรียนบ้านนาตำเสา
จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนประทีปศาสน์ (ปอเนาะบ้านตาล)
กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4


คติประจำใจ:
Wise men learn form others’ mistake fools by their own.

คนฉลาดเรียนรู้จากความผิดพลาดของผู้อื่น
คนโง่เรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง