ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
1. กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย
และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
- กฎหมายคือ เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดควบคุมความประพฤติของประชาชนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศ หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม ก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ กฎหมายมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลสังคม ระงับข้อพิพาทและความขัดแย้งของสมาชิกในสังคม และเป็นกลไกในการรักษาความเที่ยงธรรมและหลักของศีลธรรมในสังคมให้ดำเนินไปด้วยความสงบสุข ความสำคัญของกฎหมายจะมีอำนาจในการบังคับใช้กับทุกคนในสังคมเป็นการทั่วไป โดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่เจาะจงใช้บังคับเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะต้องทำตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และมีการกำหนดแนวทางให้ปฏิบัติหรือข้อห้ามการปฏิบัติรวมถึงการละเว้นจากการปฏิบัติด้วย โดยกำหนดระดับของการกระทำผิดที่ชัดเจนไว้
- กฎหมายคือ เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดควบคุมความประพฤติของประชาชนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศ หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม ก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ กฎหมายมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลสังคม ระงับข้อพิพาทและความขัดแย้งของสมาชิกในสังคม และเป็นกลไกในการรักษาความเที่ยงธรรมและหลักของศีลธรรมในสังคมให้ดำเนินไปด้วยความสงบสุข ความสำคัญของกฎหมายจะมีอำนาจในการบังคับใช้กับทุกคนในสังคมเป็นการทั่วไป โดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่เจาะจงใช้บังคับเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะต้องทำตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และมีการกำหนดแนวทางให้ปฏิบัติหรือข้อห้ามการปฏิบัติรวมถึงการละเว้นจากการปฏิบัติด้วย โดยกำหนดระดับของการกระทำผิดที่ชัดเจนไว้
2. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
-เห็นด้วย กับการที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ตามพ.ร.บ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ที่ได้กำหนดไว้ให้ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุมโดยมิได้รับใบอนุญาต ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งออกให้ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นๆแต่ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูในการประกอบด้วย วิทยากร ผู้สอนตามอัธยาศัย ครูฝึกสอน ผู้บริหารระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา ครูผู้บริหารระดับปริญญาทั้งรัฐและเอกชนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่กฎหมายกำหนด
- ดิฉันคิดว่าให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยอาจจัดเก็บภาษีเพื่อการศึกษาได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดและให้บุคคล ครอบครัวชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอกชนองค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ระดมทรัพยากร เพื่อกาศึกษา โดยเป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในกาจัดการศึกษา บริจาคทรัพย์สินและทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา และมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น ทั้งนี้ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากรดังกล่าว โดยการสนับสนุน การอุดหนุนและใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีตามความเหมาะสมและความจำเป็น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
- รูปแบบการจัดการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
สำหรับการศึกษาในระบบมี 2 ระดับ คือ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาระดับอุดมศึกษา
5. ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
- การศึกษาภาคบังคับแตกต่างกันกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ซึ่งการศึกษาภาคบังคับจะ เป็นการจัดการศึกษาไม่น้อยกว่าเก้าปี
สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เป็นการศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปี
6. การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว
อธิบายยกตัวอย่าง
- มีการแบ่งส่วนราชการ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการ ดังนี้
- มีการแบ่งส่วนราชการ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการ ดังนี้
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
มี
"รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ" เป็นหัวหน้าส่วนราชการ
7. จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.2546
- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาของชาติ จะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง เพื่อพัฒนาวิชาชีพครู
- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาของชาติ จะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง เพื่อพัฒนาวิชาชีพครู
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
- ฉันคิดว่าไม่มีความผิด หากพิจารณาตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พุทธศักราช 2546 ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตและไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป้นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
2. ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
3. นักเรียน นักศึกษา
หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ไดรับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในการควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
4. ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
5.ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว
ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ
สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์
และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
6. คณาจารย์
ผู้บริหารสถานศึกษา
และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
7.
ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
8. บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง
- โทษทางวินัยสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นการประพฤติปฏิบัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ควบคุมตนเอง และควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาให้ประพฤติดี ปฏิบัติดี ละเว้นการประพฤติในทางไม่ชอบไม่ควร
โทษทางวินัยมี 5 สถาน คือ
1. ภาคทัณฑ์
2. ตัดเงินเดือน
3. ลดขั้นเงินเดือน
4. ปลดออก
5. ไล่ออก
***
ผู้ใดถูกลงโทษปลดออก
ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าเป็นผู้ลาออกจากราชการ
10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
- เด็ก คือ
เด็กทีมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ ซึ่งไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
เด็กเร่ร่อน คือ เด็กที่ไม่มีบิดามารดา หรือมี
แต่ไม่เลี้ยงดู หรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง
ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
เด็กกำพร้า คือ เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต
เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก คือ
เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง
หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก
หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา
หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด คือ เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรเด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย
ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ทารุณกรรม คือ การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด
ๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพ หรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ
การกระทำผิดทางเพศต่อเด็กการใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี
ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น