วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556


กิจกรรมที่ 8
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546

1. พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อใด และมีผลบังคับใช้เมื่อใด
- ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2546

2. ผู้รักษาตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือใคร
- พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

3. เหตุผลที่ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เพราะอะไร
- สาเหตุที่ต้องประกาศใช้พระราชกฤษฏีฉบับนี้เพราะมีการปฏิรูประบบราชการ เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการนั้นตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศและให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

4. พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีกี่หมวดกี่มาตรา ประกอบด้วยอะไรบ้าง
- วัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ประกอบด้วย
                1. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
                2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
                3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
                4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
                5. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
                6. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
                7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ


6. หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ร่วมกันในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
- มีสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี

7. หลังจากที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนต้องดำเนินการจัดทำแผนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในกำหนดเวลากี่วัน
- เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 90 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา

8. แผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น กำหนดให้จัดทำแผนกี่ปี
- 4 ปี

9. ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้คือใคร
- ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้คือ คณะผู้ประเมินอิสระ

10. การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประเมินอะไรบ้าง อธิบาย
- การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าในภารกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ ก.พ.ร. กำหนด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น